วันศุกร์, ธันวาคม 1, 2023

ขนมไทยโบราณ ขนมไทยพื้นบ้านที่คงความเป็นเอกรักษ์เอาไว้มาอย่างยาวนาน

ขนมไทยโบราณ ขนมไทยพื้นบ้านที่คงความเป็นเอกรักษ์เอาไว้มาอย่างยาวนาน

ขนมไทยโบราณ ความเป็นมาของขนมไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทย

ขนมไทยโบราณ ขนมไทยนั้นมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงามรูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตและบรรจง

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะในวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญหรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็นขนบประเพณี เป็นต้น  dafabets เว็บพนันออนไลน์

ส่วนขนมงานคือ เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้านเช่น ขนมครก ขนมถ้วย เป็นต้น ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาสวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมให้สวยงาม นอกจากนี้ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น

ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา หรือ (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้นำสูตรมาจากโปรตุเกส จนทุกวันนี้ในยุคปัจจุบันขนมเหล่านี้ ของกินโบราณ ก็ยังเป็นที่นิยมรับประทานกันอยู่มาก

และยังเป็นขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทยในพิธีต่างๆอีกด้วย ในสมัยราชกาลที่1 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว

ขนมไทยโบราณ การแบ่งประเภทของขนมไทยและวัตถุดิบในการปรุงขนมไทย

การทำขนมไทยนั้น มีการแบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ เช่น ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่น้ำเหลวใสจนเป็นงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่นขนม ตะโก้ ขนมลืมกลืน เปียกปูน กะละแมเป็นต้น

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีขนมที่ทำให้สุก สูตรอาหารไทยโบราณ ชาววัง ด้วยการนึ่ง,การเชื่อม,การทอด,การอบหรือแม้กระทั้งการต้มเป็นต้น เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มมัด สาลีอ่อน ขนมกล้วย ขนมตาล คือการนึ่ง ส่วนทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม คือการเชื่อม

ส่วนขนมไทยที่ทำด้วยวิธีการทอด คือ กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมฝังบัวเป็นต้น และสองสิ่งสุดท้ายคือการอบและต้ม คือ ขนมหม้อแกง กลีบลำดวน ขนมครก ขนมเบื้อง ส่วนแบบต้ม คือ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเรไร สาคูเปียก มันแกงบวชเป็นต้น ขนมลอดช่อง 

วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้งนอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆเช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาลเป็นต้น

ขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวที่ไม่แก่จัด หรือข้าวออ่อนที่เป็นน้ำนม มะพร้าวและกะทิ ก็เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนมะพร้าวแก่ และยังมีส่วนประกอบอีกมากมายเช่น น้ำตาลที่มาจากตาลหรือมะพร้าว รวมทั้งไข่ ถั่วและงา และอื่นๆอีกมากมาย ทั้งสีและกลิ่นหอมๆของมันอีกด้วย

ขนมไทยโบราณ

ขนมไทยโบราณ ขนมไทยในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละภาคของประเทศไทย

ขนมไทยในแต่ละภาคก็จะมีเอกลักษณ์และความแตกต่างเป็นของตัวเอง เพราะขนบธรรมเนียมแต่ละพื้นที่ของแต่ละภาคนั้นก็จะไม่เหมือนกันเลย ยกตัวอย่างคราวๆทั้งหมด 4 ภาคของในประเทศไทย ว่ามีขนมไทยชนิดใดบ้าง เช่น

เริ่มต้นที่ภาคแรกเลยคือ ภาคเหนือ ส่วนใหญ่แล้ว ขนมไทยทางภาคเหนือนั้น จะทำมาจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม ยกตัวอย่างเช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักจะทำกัน ทองขจร แป้งอบโบราณ ในวันสำคัญเท่านั้น เช่นวันเข้าพรรษาสงกรานต์ เป็นต้น

ส่วนใหญ่แล้วนั้นขนมที่นิยมทำกันมากที่สุดหรือว่ามนงานบุญเกือบทุกงานทุกเทศกาลเลยก็ว่าได้ คือ ขนมเทียนหรือภาษาถิ่นเรียกว่าขนมจ๊อก ยังไม่พอเพียงเท่านี้ยังมีขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียวอีกมากมายหลายชนิดมีทั้งที่เราคุ้นหู และไม่เคยได้ยินมาก่อน

ต่อมาเป็นขนมไทยจากภาคกลาง ส่วนใหญ่แล้วขนมไทยของภาคกลางนั้นจะทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง ข้าวเหนียวมูน และยังมีขนมที่หลุดมาจากรั้ววังอีกด้วย จนแพร่หลายมาสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อแกง ฝอยทองและอื่นๆอีกมากมาย

ขนมพื้นถิ่นของภาคอีสานบ้าง ภาคอีสานนั้นจะเป็นขนมที่ทำกันได้ง่ายๆ ไม่ได้พิถีพิถันมากมายอะไรเหมือนขนมภาคอื่นๆ ขนมพื้นบ้านอีสานจะได้แก่ ข้าวจี่ นอกจากนั้นมักจะเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านจะนำข้าวไปหอใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด

ขนมพื้นบ้าน แต่ละภาคที่น่าสนใจและคงอนุรักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิม

ขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายหลากหลายชนิด ที่แสนจะทำง่ายและยังอร่อยอีกด้วย ไม่ว่าจะครัวเรือนไหน ก็สามารถทำขนมไทยของภาคอีสานได้ง่ายๆ วัตถุดิบไม่มาก หาง่ายและใช้เวลา ในการทำไม่นาน เช่น

ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ ที่หลายๆบ้านนิยมทำกัน ไม่ว่าจะเป็นวันอะไรก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วนำมาจิ้มกับเกลือ แป้งอบโบราณ สูตร ให้พอมีรสเค็ม รสชาติดีเลยทีเดียว

ส่วนภาคสุดท้ายคือขนมไทยของทางภาคใต้ ซึ่งชาวใต้นั้น มีความเชื่อ ในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นของภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมลูกสะบ้า ขนมไข่ปลา เป็นต้น

ยกตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ ขนมหน้าไข่ จะทำมาจากแป้งข้าวเจ้า นวดกับน้ำตาล และนำไปนึ่ง ส่วนหน้าขนมจะทำมาจาก กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม หลังจากนั้น จะนำไปนึ่งอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ

ยกอีกหนึ่งตัวอย่างคือขนมด้วง จะทำมาจากแป้งมันและแป้งข้าวจ้าว นวดด้วยน้ำดอกมะลิ ปั้นเป็นก้อนยาวขนาดประมานสี่เซนติเมตร จากนั้นนำไปนึ่ง เมื่อสุกได้ที่ นำมาจัดจาน และโรยด้วยมะพร้าวขูด หรือน้ำตาลทราย นี้คือส่วนหนึ่ง ของขนมไทยภาคใต้

ขนมไทยในพิธีกรรมและงานเทศกาลต่างๆที่ชาวไทยควรรับรู้

ขนมไทยนั้นต้องบอกก่อนเลยว่า มีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทย ในทุกเทศกาล และโอกาสต่างๆมากมาย แสดงให้เห็น ถึงความผูกพัน และเป็นส่วนสำคัญ ของวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาล และพิธีกรรมต่างๆ ของชาวไทย ตลอดทั้งปี ได้แก่

เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัด ห่อด้วยใบตอง หรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้นำมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่าเมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้า เมื่อทรงพุทธดำเนิน จากเทวโลก กลับสู่โลกมนุษย์

ยังไม่พอเพียงเท่านี้ ไม่ใช่มีแต่เทศกาล ของชาวพุทธ เมนูของหวานไทย ขนมไทยเรายังมีเทศกาล ของอิสลามอีกด้วย ชาวไทยมุสลิม ในช่วงถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมของเรา นิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ รูปร่างคล้ายขนมไข่ ทำให้สุก ด้วยการนำไปผิงไฟนั้นเอง

ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพล มาจากชาติอื่น ก็มีมากมายเช่นกัน ประเทศไทยเรา ได้รับเอาวัฒนธรรม ด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสม กับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง

แยกไม่ออกว่า อะไรคือขนมไทย ที่เป็นไทยแท้ และอะไรที่ดัดแปลง มากจากวัฒนธรรม ของชาติอื่น เช่นขนมที่ใช้ไข่ และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งได้เข้ามาในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้า ภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทย ในสมัยนั้น